คาถาชินบัญชร บทสวดคาถาชินบัญชร และอานุภาพของพระคาถา

คาถาชินบัญชร


คาถาชินบัญชร หรือพระคาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร เป็นคาถาหนึ่ง ที่มีความสำคัญ มีอายุมานาน นับร้อยปี ตั้งแต่เริ่มต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณช่วงสมัย รัชกาลที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะด้วยพลานุภาพ ความศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้ชาวไทย ที่นับถือศาสนาพุทธ หันมาท่องพระคาถานี้ เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง และยังเป็นการป้องกันให้ตนเองพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งปวง โดยมีการถกเถียงกันมาเป็นระยะเวลายาวนานนับทศวรรษว่า ใครเป็นผู้แต่ง พระคาถาชินบัญชรขึ้น ระหว่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม กับพระมหาเถระ ผู้เชี่ยวชาญบาลีปกรณ์รูปหนึ่งจากเชียงใหม่ ซึ่งในกรณีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า ท่านเป็นเพียงแค่ผู้ที่นำ พระคาถาชินบัญชร มาเผยแพร่ต่อ มิได้เป็นผู้แต่งขึ้นเอง
โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวาย รัชกาลที่ 4 องค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีรับสั่งว่า ถ้อยคำในบทสวดนั้นมีความไพเราะ จึงทรงซักถามเพิ่มเติมว่า “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้” ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ผู้แต่งขึ้นน่าจะเป็น พระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ที่อาจะเป็นยุคทอง เนื่องจากในยุคสมัยนั้น เป็นยุคที่มีการส่งเสริมให้พระเถระหลายร้อยรูป เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา เมื่อได้สำเร็จการศึกษา จึงมีการแข่งขันกันแต่งบาลีปกรณ์กันอย่างเอิกเกริก จนชื่อเสียงกระจายไปถึงกรุงศรีอยุธยา พม่า ล้านช้าง และสิบสองปันนา ทำให้เมืองเหล่านั้นต้องขอคัมภีร์ภาษาบาลี ที่แต่งโดยพระภิกษุล้านนาไปศึกษาอย่างแพร่หลาย

การเริ่มหัดสวด คาถาชินบัญชร

การเริ่มสวด หัดสวด ควรจะเริ่มในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูโดยให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ เทียน 2 เล่ม ธูป 3 5 ถึง 9 ดอก จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต

การสวด คาถาชินบัญชร

  • ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
  • นึกถึงหลวงปู่โตพร้อมตั้งอธิษฐานว่า ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
  • เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท
    1.ชะยา สะนา กะตา พุทธา      เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง               เย ปิวิงสุ นะราสะภา
    2.ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง           มัตถะเกเต มุนิสสะรา
    3.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง           พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง            อุเร สัพพะคุณากะโร
    4.หะทะเย เม อะนุรุทโธ           สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง      โมคคัลลาโน จะ วามะเก
    5.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง         อาสุง อานันทะ ราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม          อุภาสุง วามะโสตะเก
    6.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง          สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน                โสภิโต มุนิปุงคะโว
    7.กุมาระกัสสโป เถโร              มะเหสี จิตตะ วาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง         ปะติฏฐาสิคุณากะโร
    8.ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ         อุปาลี นันทะ สีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา            นะลาเต ติละกา มะมะ
    9.เสสาสีติ มะหาเถรา             วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา                 ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ             อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
    10.ระตะนัง ปุระโต อาสิ          ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ           วาเม อังคุลิมาละกัง
    11.ขันธะโมระปะริตตัญจะ       อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ            เสสา ปาการะสัณฐิตา
    12.ชินา นานาวะระสังยุตตา    สัตตัปปาการะ ลังกะตา
    วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา
    13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ          อะนันตะชินะ เตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ            สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
    14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ        วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา
    15.อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ                          ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ                        ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ                        ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต           จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดภาวนา หรือ สวดมนต์ คาถาชินบัญชร อยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเดิน นั่ง กิน นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงาน ก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ใดก็เกิดเมตตามหานิยม ขจัยภัยภูตผีปีศาจ มีลาภผลทวี ตลอดจนคุณไสยต่างๆ หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จดั่งปรารถนา ที่มาข้อมูลบางส่วนจาก Botkwamdee.blogspot.com 84000.org และ  Dharma.thaiware.com


Tag: คาถาชินบัญชร


บทความก่อนหน้า

วิธี-เปลี่ยนเบอร์-ไลน์-LINE

วิธีเปลี่ยนเบอร์โทร LINE

เปลี่ยนเบอร์อย่างไร ไม่ให้ LINE หาย ?แอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE application) เป็นแอพพลิเคชั่นที่นิยมใช้ก...อ่านต่อ..

วิธีเปลี่ยนเบอร์-LINE เปลี่ยนเบอร์โทร-LINE

บทความถัดไป

ย้ายค่ายเบอร์เดิม

ย้ายค่ายเบอร์เดิม ais true dtac

ย้ายค่ายเบอร์เดิม หรือ ย้ายเครือข่ายเบอร์เดิม ได้ง...อ่านต่อ..

วิธีย้ายค่าย ย้ายค่ายเบอร์เดิม